หัวข้อวันนี้ ขอนำเสนอ
HOW TO… สะกดคำว่า “ไชโป้ว”

 

หลายคนสงสัยว่าหัวผักกาด ผักกาด ผักกาดดอง ไชโป้ว ไชเท้า มันคืออันไหนกันแน่ และสะกดยังไงเพราะเป็นอีกหนึ่งคำที่สามารถเรียกหรือสะกดได้หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็น ไชโป๊ะ ไชโป๊ะเค็ม ไชโป๊ะหวาน ไชโป้ะ ไชเท้า ไช้เท้า ไช้โป๊ ไชโป๊ว, ไช้โป๊ว, ไชโป้ว… มีหลายคำเรียกจนหลายคนสับสน

ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายตามนี้ค่ะ…

อ้างอิงตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และวิกิพีเดีย ให้สะกดได้ทั้งคำว่า “ไชเท้า ไช้เท้า หัวไชเท้า หัวไช้เท้า หัวผักกาด และผักกาดหัว” ทั้งหมดนี้คือคำเดียวกัน ซึ่งใช้เรียกหัวไชเท้าสดที่ยังไม่ถูกแปรรูป

หลังจากที่เรานำหัวไชเท้าสด ใส่เกลือมาดองเค็ม แล้วนำไปตากแห้ง เราจึงเรียกว่า หัวผักกาดเค็ม ไชโป๊วเค็ม ไชโป๊เค็ม, ไช้โป๊เค็ม, ไชโป๊วเค็ม, ไช้โป๊วเค็ม หรือไชโป้วเค็ม…

และหลังจากที่เรามีการทำไชโป้วเค็มขึ้น โรงงานตราชฎาก็มีการปรับปรุงพัฒนารสชาติเพื่อให้ถูกปากรสชาติคนไทยมากขึ้นโดยการนำไชโป้วเค็มที่ได้มาดองหวานโดยใส่น้ำตาลเข้าไป ทำให้รสชาติไชโป้วมีทั้งรสหวานและเค็ม (สูตรเฉพาะของตราชฎา ที่ไชโป้วหวานของเราจะมีรสชาติความเค็มลงตัวกลมกล่อม ไม่หวานโดดหรือเค็มโดดจนเกินไป) เลยกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก ไชโป๊หวาน, ไช้โป๊หวาน, ไชโป๊วหวาน, ไช้โป๊วหวาน, ไชโป้วหวาน หรือผักกาดหัวดองหวานนั่นเอง การสะกดคำข้างต้นสามารถสะกดคำไหนก็ได้ ไม่มีคำว่าผิด เพราะหลักๆขึ้นอยู่กับสำเนียงการอ่านแบบจีนหรือไทย

ปล. คำที่คนมักสะกดผิด คือเขียนเป็น ไชโป๊ะ ไชโป้ะ ไชโป๊ะเค็ม ไชโป๊ะหวาน แบบนี้ไม่ถูกต้องนะคะ 😛

สำหรับบทความหน้าเราจะมาพูดคุยกันว่า ไชโป๊ะหวาน ทำมาจาก… อุ้ยไม่ใช่ต้อง ไชโป้วหวาน ทำมาจาก… อะไรและมีขั้นตอนอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมกันนะคะ!

บทความล่าสุด
Facebook Page
error: ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ